ปรัชญาความคิดขงจื่อ

ประเทศจีนเป็นหนึ่งในอารยธรรมโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของโลก และเป็นประเทศเดียวที่มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันจากรุ่นสู่รุ่นต่อเนื่องกันมาอย่างไม่ขาดสาย  ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศจีนสำนักปรัชญาขงจื่อกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของโลกและสถานะทางประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีความสอดคล้องกัน ดังนั้นขงจื่อจึงกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรมของโลก ปรัชญาของขงจื่อจึงกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของมวลมนุษยชาติ

ขงจื่อมีความคิดกว้างขวาง ทั้งเชี่ยวชาญ และลึกซึ้ง ทฤษฎีปรัชญาของขงจื่อ คือ “ความเมตตากรุณา” “ความกตัญญู” “ขนบจารีตและประเพณี” “ความยุติธรรม”และ“ความซื่อสัตย์” การเมืองในอุดมคติของของจื่อ คือ “การปกครองประเทศให้มีความสงบสุข ทุกคนเปรียบเสมือนบุคคลในครอบครัว ” ความคิดทางด้านการศึกษาคือ “ไม่ว่าใครก็สามารถรับการศึกษาได้” “การศึกษาตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน” และยังให้ความสำคัญกับสติปัญญาและคุณธรรมเป็นต้น ปรัชญญาของขงจื่อจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและลึกซึ้งจนถึงปัจจุบัน

ความสำเร็จในการจัดเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
484 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ขงจื่อได้กลับไปที่รัฐหลู่และได้ถูกยกย่องว่าเป็นคนเก่าคนแก่ของประเทศ ขงจื่อเป็นกังวลเรื่องของประเทศชาติ จึงคอยให้กำลังใจตัวเอง และมุ่งมั่นบากบั่นเสมอมา แม้ว่าอายุจะมากจนถึงวัยชรา ขงจื่อก็ยังมุ่งมานะจนลืมแม้กระทั้งรับประทานอาหาร มีความสุขจนลืมความโศกเศร้าและทุ่มเทให้กับการศึกษาและจัดเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์สมัยโบราณให้เรียบร้อย ทำจนลืมว่าตัวเองถึงวัยชราแล้ว  

เดินทางท่องเที่ยวไปยังรัฐต่างๆ
ขงจื่อเดินทางท่องเที่ยวไปยังรัฐต่างๆด้วยตัวเองเมื่ออายุ 55 ปี เพื่อแสวงหาโอกาสที่จะได้เสนอข้อคิดเห็นทางการเมืองให้แก่รัฐต่างๆคือการปกครองด้วยคุณธรรม  ระยะเวลา14 ปีที่ขงจื่อได้เดินทางไปมาและพบกับบรรดาเจ้าผู้ครองรัฐต่างๆทั้ง7รัฐ ขงจื่อต้องประสบพบเจอกับความทุกข์ทรมาน และเมื่ออายุ 68 ปีขงจื่อจึงเดินทางกลับมายังรัฐหลู่อีกครั้ง

เป็นข้าราชการเพื่อปกครองประเทศ
ขงจื่อเผชิญหน้ากับความสับสนวุ่นวายและความจริงทางสังคม ขณะที่บรรดาเจ้าผู้ครองรัฐต่างๆได้ยึดครองราช ซึ่งการแก้ไขประคับประคองประเทศเป็นหน้าที่ของขงจื่อ ท่านจึงริเริ่มการปกครองด้วยคุณธรรมและพยายามปฏิรูปบ้านเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ขงจื่อเป็นข้าราชการปกครองประเทศ ผลงานการปฏิบัติหน้าที่ของขงจื่อดีเยี่ยมซึ่งนำพาให้รัฐหลู่ไปสู่​​ความเจริญรุ่งเรือง

แบบอย่างการเรียนที่ดีและคุ้มค่า
ขงจื่อเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาขงจื่อ ตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น และราชวงศ์ทั้งหมดในประวัติศาสตร์จีนต่างยกย่องให้ขงจื่อเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์เป็นเลิศ  ก่อนเสียชีวิตขงจื่อไม่ได้คาดหวังไว้ว่าตัวเองจะมีเกียรติยศ ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์เป็นอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถ และยังเป็นแบบอย่างผู้ที่ใช้ชีวิตด้านการเรียนที่ดีและคุ้มค่า  ทั่วประเทศจีนยังสร้างศาลเพื่อให้ลูกหลานและลูกศิษย์ได้เคารพบูชา และยังสร้างศาลให้กับบุคคลที่ทำคุณงามความดีเช่นเดียวกับขงจื่อ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมความคิดแบบสังคมศักดินาตั้งแต่ต้นจนจบของประเทศจีนในสมัยนั้นจึงมีความหมายว่าด้วยความเคารพและบูชาขงจื่อ

สวรรค์บงการชะตากรรม
ยุคชุนชิวผู้คนยังคงเข้าใจว่าชะตากรรมของมนุษยชาติถูกบงการจากสวรรค์ทั้งหมด ซึ่งสวรรค์มีอิทธิพลต่อชะตากรรมของมนุษยชาติและวิญญาณ และยังสามารถทำให้มุนษยชาติเคราะห์ร้ายหรือมีความสุขได้ ขงจื่อให้ความสำคัญกับมนุษยธรรม ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับหลักธรรมชาติแห่งสวรรค์ เหมือนคำที่ว่า “รู้ว่าทำไม่ได้แต่ก็จะทำ” แต่ก็ยังยืนยันที่จะต่อสู้กับชะตากรรม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับวิญญาณ

มุมมอง
มุมมองของขงจื่อยังไม่มีรูปแบบและระบบที่สมบูรณ์แต่เขาเชื่อว่าโลกมีการพัฒนา และยอมรับว่าโลกมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรดำรงอยู่โดยภววิสัย และปรับตัวให้เข้ากับกฎหมาย สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองความคิดและวัตถุนิยม

วิธีการ
ขงจื่อมีข้อคิดในทางปฎิบัติสองทาง และมีการส่งเสริมในสิ่งที่แตกต่างกันคือ ทัศนคติที่เป็นกลางและเหมาะสม วิธีการแบบนี้คือ การที่ขงจื่อวิจัยประวัติศาสตร์และสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นตามความจริง รวบรวมความคิดในภาพรวมเข้าด้วยกัน หลังจากวิเคราะห์รวบรวมเหตุผลพื้นฐานสิ่งต่างๆหลายๆด้านที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง“การค้นพบที่ดี” และ “ความสำเร็จที่ดี” ของขงจื่อทำให้ได้รับการย่อย่องจากเหมาเจ๋อตง

ญาณวิทยา
ปัญหาพื้นฐานของปรัชญา คือปัญหาความสัมพันธ์ของการดำรงอยู่และความคิด  แหล่งที่มาของปัญหาก็คือ วิชาว่าด้วยความรู้ แม้ว่าขงจื่อจะกล่าวว่า “คนที่เกิดมารู้ทุกเรื่องเป็นผู้ที่มีญาณวิทยา” เขาไม่เคยคิดว่าทุกคนเกิดมาแล้วจะรู้ทุกเรื่อง และก็ไม่ยอมรับว่าตนเองเกิดมาก็รู้ทุกเรื่อง ในทางตรงกันข้ามเขายืนยันที่จะแสวงหาความรู้โดยเรียนศึกษาหาความรู้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ความคิดเห็นทางการเมือง
ยุคชุนชิวสังคมเกิดความไม่สงบอย่างรุนแรง มีการล่วงละเมิดการปฏิบัตินอกจากหน้าที่ ทำให้เกิดการจลาจลในประเทศ บรรดาประเทศต่างๆจึงเข้ายึดดินแดนของเมืองอื่นรวมมาเป็นของตน สังหารบุคคลที่บุกรุกเพื่อขจัดความสับสนวุ่นวายของบ้านเมือง ต่อมาจึงมีการปฏิรูปสังคมให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยยึดตามหลัก “ความเมตตากรุณา” และ “การมีมารยาท” ขงจื่อได้เสนอความคิดเห็นและสนับสนุนการเมืองและให้การอบรมด้านจิตใจแก่นักการเมือง

ข้อเสนอทางการเมือง
ขงจื่อเป็นผู้ปกป้องรักษากฎเกณฑ์ คือถือวงศ์ตระกูลเป็นศูนย์กลางและมีสิทธิพิเศษ ในขณะเดียวกันยังคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน และต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ทางสังคม ขงจื่อไม่ต้องการจะปฏิวัติกษัตริย์ แต่สิ่งที่ขงจื่อคาดหวังก็คือดำเนินการปกครองด้วยคุณธรรม และศีลธรรมเมื่อทำอะไรก็ต้องมีมารยาท   ชักจูงให้ประชาชนทุกคนมีศีลธรรม และทำให้ทุกคนมีมารยาท

การอบรมด้านจิตใจของนักการเมือง
การดำเนินการปกครองด้วยคุณธรรมทำให้คนในประเทศเกิดความสามัคคี นับเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารคนในประเทศ ดังนั้นนักการเมืองจำเป็นต้องฝึกฝนตนทางด้านคุณธรรม ต้องมีพฤติกรรมเที่ยงตรง ยืนหยัดในหลักการ เลือกบุคคลผู้มีคุณธรรม และเพียบพร้อมด้วยสติปัญญา มีความสามารถและทักษะที่ดี ขยันและมีจิตใจที่ซื่อสัตย์สุจริต

ความคิดทางจริยธรรม
บทบาทในชีวิตทางสังคมของขงจื่อ ท่านให้ความสำคัญกับเรื่องคุณธรรมเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย และให้เกิดความกลมเกลียวในสังคม เขาจึงใช้หลัก “เมตตากรุณา”ซึ่งเป็นจริยศาสตร์ที่สมบูรณ์ในการสร้างความเป็นระเบียบของสังคม

ปรัชญาความคิด
เมื่อเทียบกับปรัชญาสมัยใหม่ ปรัชญาความคิดของขงจื่อจะเรียบง่ายมากขึ้น รูปแบบระบบปรัชญาความคิดของคนคือการยึดเอา “ความเมตตา”  เป็นสัญลักษณ์ แต่เมื่อเทียบกับความคิดของบุคคลร่วมสมัยจะเห็นได้ว่าความคิดของขงจื่อมีความก้าวหน้ามากกว่า

ความจงรักภักดี
คนที่มีความจงรักภักดีคือ คนที่มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ พยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ถึงที่สุด และยังรวมไปถึงการแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ขงจื่อจึงเสนอข้อคิดเห็นว่า “ข้าราชบริพารที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ต้องปฏิบัติตามบรรทัดฐานของประเพณี  ข้าราชบริพารรับใช้พระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี” ต้องป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดต่อพระมหากษัตริย์ กำจัดและโค่นล้มทรราช ซึ่งแตกต่างกับคนรุ่นหลังที่ว่า “ขุนนางจะต้องฟังคำสั่งของพระมหากษัตริย์” เป็นอย่างมาก

ความกตัญญู
สังคมทาส(奴康社会)ปกครองรักษาการโดยความสัมพันธ์ทางสายเลือด ความกตัญญูเป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้านศีลธรรมจรรยา และเป็นศีลธรรมทางการเมือง หลังเข้าสู่สังคมศักดินา(封建社会)บทบาทสำคัญของกตัญญูคือมนุษย์ต้องมีศีลธรรมจรรยา ขงจื่อกล่าวว่ากตัญญูไม่เพียงเริ่มจากการเคารพปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ และยังต้องพูด ทำ และรับคำตักเตือนในสิ่งที่ทำผิดต่อพ่อแม่ ซึ่งต่อมาภายหลังมีความแตกต่างจากคำที่ว่า “พ่อจะต้องฟังคำสั่งของลูก” เป็นอย่างมาก

ความน่าเชื่อถือ
ความน่าเชื่อถือคือ การซื่อสัตย์ไม่หลอกลวง มันไม่เพียงเป็นหลักในการคบหาเพื่อน ยังเป็นศีลธรรมข้อหนึ่งในการปกครองประเทศ คนที่ซื่อตรงจำเป็นต้องมีจิตใจที่ซื่อสัตย์ คำพูดจะต้องมีความน่าเชื่อถือ แต่การรักษาความน่าเชื่อถือจะต้องมีหลักการ และปฏิบัติควบคู่ไปกับศีลธรรมและสัจธรรม

ความยุติธรรม
ความยุติธรรมมีเหตุมีผล เดิมทีแสดงให้เห็นถึงความเป็นธรรม ขงจื่อเคยอธิบายไว้ว่า ความยุติธรรมเป็นบรรทัดฐานของศีลธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม  ผู้คนยึดความยุติธรรมเป็นศูนย์กลาง เพียงเริ่มจากความยุติธรรม กล้าหาญทำเรื่องที่มีความยุติธรรม แต่ขงจื่อไม่ได้นำความยุติธรรมและผลประโยชน์แยกออกจากกันแต่ขอร้องให้ผู้คน เมื่อได้รับผลประโชยน์ก็ต้องคำนึงถึงความยุติธรรมก่อน

การให้อภัย
ผู้คนต่างมีความเห็นตรงกันว่า การให้อภัยคือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เมื่ออยู่ในสังคมจะต้องรู้จักเข้าสังคม สิ่งที่คิดว่าตนเองทำได้ บุคคลอื่นก็ทำได้ เรื่องที่ตนเองทำไม่ได้ก็ไม่ต้องโยนให้กับบุคคลอื่นทำ

การให้
ขงจื่อส่งเสริมให้มีการให้ การปกครองประเทศควรมีจิตใจที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความอ่อนโยน มีจิตใจที่ดีงาม มีความเคารพประหยัด และมีความอดทน ควรสอนให้ผู้คนรู้ว่าเมื่อมีชื่อเสียง มีอำนาจควรพิจารณาถึงผู้อื่นก่อนแล้วค่อยคิดถึงตัวเอง เมื่ออยู่ในหน้าที่ก็ควรปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชน และควรพิจารณาตัวเองก่อนแล้วค่อยคิดถึงคนอื่น

ความเชื่อ
ความเชื่อประกอบด้วย 2 ด้าน ประการแรกคือ ตนเองต้องมีลักษณะอากัปกิริยาที่เอาจริงเอาจังเคร่งขรึม ประการที่สองคือ ถ่อมตนยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และคล้อยตามไปกับผู้อื่น ซึ่งมันเป็นหนึ่งในจริยธรรมและศีลธรรมที่ขงจื่อพยายามส่งเสริมเป็นอย่างมาก รวมถึง ความอบอุ่น ความดี และประหยัดมัธยัสถ์ ซึ่งคนรุ่นหลังเรียกว่า “ ศีลธรรมทั้งห้า ”

ความเคารพ
ความเคารพประกอบด้วย2 ด้าน ประการแรกคือจริงจังตั้งใจกับการงานและกิจการที่ทำ ประการที่สองคือ ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจ ทำอะไรต้องตั้งใจ เคารพความคิดของผู้อื่น  ซึ่งเป็นทฤษฎีทางศีลธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศจีน  การเคารพพ่อแม่ เคารพผู้อาวุโส เคารพเพื่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหลักที่ผู้คนจะต้องปฏิบัติตาม

ความคิดทางการศึกษา
ความคิดที่จะปกครองด้วยคุณธรรมจะเป็นจริงได้นั้น จะต้องปลูกฝังให้คนที่มีความรู้ความสามารถทางการเมือง มีความเพียบพร้อมด้านศีลธรรม ขงจื่อจึงริเริ่มการเรียนการสอนโดยไม่มีแบบแผน และริเริ่มสร้างโรงเรียนของตนเองก่อน ซึ่งในชีวิตของท่านได้สอนคนอย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย สะสมประสบการณ์ในการสอน และยังสร้างวิธีการ รูปแบบการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อให้มีความคิดทางการศึกษาที่สมบูรณ์

จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ขงจื่อเสนอการปกครองที่มีศีลธรรม ดังนั้นจึงสร้างโรงเรียนของเขาขึ้นมา เพื่อดำเนินการฝึกอบรมผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางการเมืองให้ปกครองประเทศด้วยศีลธรรม เมื่อผ่านการฝึกอบรมแล้วเหล่าบรรดาขุนนางได้นำสิ่งที่ขงจื่อได้สอนคือ “มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ มีความเมตตาต่อประชาชน” ไปปฏิบัติใช้ในสังคมที่พออยู่พอกิน(小康社会)เพื่อสร้างโลกใหม่ที่ทุกคนเป็นเจ้าของ และสร้างความสามัคคีให้กับโลก

เนื้อหาการศึกษา
ขงจื่อฝึกและอบรมผู้ที่มีความสามารถให้ปกครองประเทศด้วยศีลธรรม ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติประจำตัวของแต่ละคนและมีความสามารถในการปกครองประเทศ การเรียนการสอนโดยยึดศีลธรรมเป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะครอบคลุมไปด้วย ศีลธรรม สติปัญญา ร่างกาย ดนตรี และคุณธรรมอันดี

วิธีการศึกษา
ขงจื่อสอนนักเรียนตามความสามารถของนักเรียน การเรียนหนังสือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่กันและกันทั้งสองฝ่าย ทั้งนักเรียนและครูผู้สอน ค่อยๆโน้มน้าวให้การศึกษาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน รู้เรื่องหนึ่งก็สามารถนำไปเชื่อมโยงถึงเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่องได้ เวลาที่นักเรียนต้องการที่จะพูดแต่ไม่สามารถพูดออกมาได้ เขาจึงคิดวิธีการสอนให้เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์และรูปแบบการสอนที่สามารถยืดหยุ่นได้

วิธีการเรียน
ขงจื่อมีความกระตือรือร้นและชอบที่จะหาความรู้เป็นอย่างมาก แม้ว่าขงจื่อจะไม่มีอาจารย์สอนหนังสือ แต่ขงจื่อก็มีความรู้ความสามารถ ชาญฉลาด และมีความมุ่งมานะเพื่อหาความรู้เป็นอย่างมากจนกระทั้งลืมทานข้าว ขงจื่อมักจะแก้ไขปัญหาทุกเรื่อง ทบทวนความรู้เก่าเพื่อที่จะได้ความรู้ใหม่ นำความรู้ที่เรียนและความคิดของตนเองมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน และเป็นผู้ที่รู้เรื่องหนึ่งก็สามารถรู้ทะลุปรุโปร่งไปถึงเรื่องอื่นอีกมากมายหลายเรื่อง

ผู้นำต่างประเทศเยี่ยมชมสารขงจื่อ สุสานตระกูลขงและจวนที่พักตระกูลขง
ปรัชญาความคิดของขงจื่อแพร่หลายไปทั่วโลก ทำให้ทุกปีมักจะมีผู้นำต่างประเทศและมิตรสหายจำนวนมากมาเยี่ยมชมบ้านเกิดของขงจื่อ(Qufu) เพื่อแผ่ขยายการวิจัยทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ดังนั้นการเผยแพร่ปรัชญาความคิดของขงจื่อจึงมีอิทธิพลต่อคนทั้งโลก

ประเทศในทวีปยุโรป
การสื่อสารทางบกระหว่างประเทศจีนและประเทศตะวันตกได้เริ่มจากราชวงศ์ฮั่น แต่ในประวัติศาสตร์การติตต่ออย่างเป็นทางการกับประเทศตะวันตกและเริ่มมีการวิจัยปรัชญาความคิดของขงจื่อมีเพียงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา ประเทศแรกๆที่มีการติดต่อและทำการวิจัยคือ ประเทศโปรตุเกสและประเทศอิตาลี ซึ่งวิธีหลักคือ บาทหลวงที่มาประเทศจีนจะแปลหนังสือ รวบรวมเรียบเรียงบทประพันธ์ และโฆษณาประเทศของตน ในทวีปยุโรปประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาความคิดของขงจื่อมากที่สุดคือ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการผลักดันเคลื่อนไหว เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม ประชาธิปไตย และปฏิวัติชนชั้นนายทุน ในตอนแรกประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการไม่สนใจปรัชญาความคิดของขงจื่อ แต่ตอนหลังเพื่อการแผ่ขยายอาณานิคมจึงเริ่มมีการวิจัยขงจื่อ ปัจจุบันสถานการณ์ระหว่างประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงมีการวิจัยปรัชญาความคิดของขงจื่อเป็นจำนวนมาก

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย
ปลายราชวงศ์หมิงมีผู้อพยพชาวจีนจำนวนมากที่ไปดำรงชีวิตในต่างประเทศ สถานที่จุดหมายปลายทางที่ผู้อพยพจะไปคือ หมู่เกาะมาเลย์และอินโดนีเซีย ปรัชญาความคิดของขงจื่อได้แผ่ขยายไปยังคาบสมุทรมลายูอินโดนีเซียฟิลิปปินส์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เนื่องจากประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศสิงคโปร์เป็นคนเชื้อสายจีน และรัฐบาลให้ความสำคัญสำนักปรัชญาขงจื่อเป็นอย่างมากดังนั้นขงจื่อจึงมีอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียเป็นอย่างมาก

เวียดนาม
ปรัชญาความคิดของขงจื่อได้แผ่ขยายเข้ามาในประเทศเวียดนามเมื่อสามศตวรรษก่อนคริสตกาล ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาวัฒนธรรมของประเทศเวียดนามอย่างมาก จึงกลายเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาของวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศเวียดนาม และเป็นส่วนสำคัญที่สุด

ประเทศญี่ปุ่น
การแผ่ขยายปรัชญาความคิดของขงจื่อในประเทศญี่ปุ่นเริ่มจากคนอาณาจักรชิลลาที่มีชื่อว่า หวัง เหยินได้นำคัมภีร์หลุนอวี่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานประมาณ 1,700 ปี ปรัชญาความคิดของขงจื่อจึงส่งผลในด้านคุณธรรมและการศึกษาของคนในประเทศญี่ปุ่น

ประเทศเกาหลี
การแผ่ขยายปรัชญาความคิดของขงจื่อในประเทศเกาหลีมีอิทธิพลยาวนานถึง 2,000 ปี ซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการพัฒนาวัฒนธรรมของประเทศเกาหลี

บทสรุป
วันนี้โลกก้าวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์หรือยุคของข้อมูลข่าวสาร ทั่วโลกเกิดความสันติสุข มีอารยธรรม มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความก้าวหน้า ซึ่งเป็นความหวังของมนุษยชาติทั้งโลกขงจื่อสนับสนุนการสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสม และคิดสร้างรูปแบบทางสังคมที่ดี ให้สังคมมีสภาพที่ดียิ่งขึ้น จึงทำให้เขาได้รับความเคารพ และความสนใจจากสังคม ซึ่งชื่อกับภูมิปัญญาของขงจื่อจะยิ่งใหญ่ที่สุดและตลอดไป