ประเทศจีนเป็นหนึ่งในอารยธรรมโบราณที่เก่าแก่ที่สุดของโลก และเป็นประเทศเดียวที่มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันจากรุ่นสู่รุ่นต่อเนื่องกันมาอย่างไม่ขาดสาย  ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศจีนสำนักปรัชญาขงจื่อกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของโลกและสถานะทางประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีความสอดคล้องกัน ดังนั้นขงจื่อจึงกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรมของโลก ปรัชญาของขงจื่อจึงกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของมวลมนุษยชาติ

ขงจื่อมีความคิดกว้างขวาง ทั้งเชี่ยวชาญ และลึกซึ้ง ทฤษฎีปรัชญาของขงจื่อ คือ “ความเมตตากรุณา” “ความกตัญญู” “ขนบจารีตและประเพณี” “ความยุติธรรม”และ“ความซื่อสัตย์” การเมืองในอุดมคติของของจื่อ คือ “การปกครองประเทศให้มีความสงบสุข ทุกคนเปรียบเสมือนบุคคลในครอบครัว ” ความคิดทางด้านการศึกษาคือ “ไม่ว่าใครก็สามารถรับการศึกษาได้” “การศึกษาตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน” และยังให้ความสำคัญกับสติปัญญาและคุณธรรมเป็นต้น ปรัชญญาของขงจื่อจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและลึกซึ้งจนถึงปัจจุบัน

ความสำเร็จในการจัดเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
484 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ขงจื่อได้กลับไปที่รัฐหลู่และได้ถูกยกย่องว่าเป็นคนเก่าคนแก่ของประเทศ ขงจื่อเป็นกังวลเรื่องของประเทศชาติ จึงคอยให้กำลังใจตัวเอง และมุ่งมั่นบากบั่นเสมอมา แม้ว่าอายุจะมากจนถึงวัยชรา ขงจื่อก็ยังมุ่งมานะจนลืมแม้กระทั้งรับประทานอาหาร มีความสุขจนลืมความโศกเศร้าและทุ่มเทให้กับการศึกษาและจัดเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์สมัยโบราณให้เรียบร้อย ทำจนลืมว่าตัวเองถึงวัยชราแล้ว  

เดินทางท่องเที่ยวไปยังรัฐต่างๆ
ขงจื่อเดินทางท่องเที่ยวไปยังรัฐต่างๆด้วยตัวเองเมื่ออายุ 55 ปี เพื่อแสวงหาโอกาสที่จะได้เสนอข้อคิดเห็นทางการเมืองให้แก่รัฐต่างๆคือการปกครองด้วยคุณธรรม  ระยะเวลา14 ปีที่ขงจื่อได้เดินทางไปมาและพบกับบรรดาเจ้าผู้ครองรัฐต่างๆทั้ง7รัฐ ขงจื่อต้องประสบพบเจอกับความทุกข์ทรมาน และเมื่ออายุ 68 ปีขงจื่อจึงเดินทางกลับมายังรัฐหลู่อีกครั้ง

เป็นข้าราชการเพื่อปกครองประเทศ
ขงจื่อเผชิญหน้ากับความสับสนวุ่นวายและความจริงทางสังคม ขณะที่บรรดาเจ้าผู้ครองรัฐต่างๆได้ยึดครองราช ซึ่งการแก้ไขประคับประคองประเทศเป็นหน้าที่ของขงจื่อ ท่านจึงริเริ่มการปกครองด้วยคุณธรรมและพยายามปฏิรูปบ้านเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ขงจื่อเป็นข้าราชการปกครองประเทศ ผลงานการปฏิบัติหน้าที่ของขงจื่อดีเยี่ยมซึ่งนำพาให้รัฐหลู่ไปสู่​​ความเจริญรุ่งเรือง

แบบอย่างการเรียนที่ดีและคุ้มค่า
ขงจื่อเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาขงจื่อ ตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น และราชวงศ์ทั้งหมดในประวัติศาสตร์จีนต่างยกย่องให้ขงจื่อเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์เป็นเลิศ  ก่อนเสียชีวิตขงจื่อไม่ได้คาดหวังไว้ว่าตัวเองจะมีเกียรติยศ ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์เป็นอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถ และยังเป็นแบบอย่างผู้ที่ใช้ชีวิตด้านการเรียนที่ดีและคุ้มค่า  ทั่วประเทศจีนยังสร้างศาลเพื่อให้ลูกหลานและลูกศิษย์ได้เคารพบูชา และยังสร้างศาลให้กับบุคคลที่ทำคุณงามความดีเช่นเดียวกับขงจื่อ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมความคิดแบบสังคมศักดินาตั้งแต่ต้นจนจบของประเทศจีนในสมัยนั้นจึงมีความหมายว่าด้วยความเคารพและบูชาขงจื่อ

สวรรค์บงการชะตากรรม
ยุคชุนชิวผู้คนยังคงเข้าใจว่าชะตากรรมของมนุษยชาติถูกบงการจากสวรรค์ทั้งหมด ซึ่งสวรรค์มีอิทธิพลต่อชะตากรรมของมนุษยชาติและวิญญาณ และยังสามารถทำให้มุนษยชาติเคราะห์ร้ายหรือมีความสุขได้ ขงจื่อให้ความสำคัญกับมนุษยธรรม ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับหลักธรรมชาติแห่งสวรรค์ เหมือนคำที่ว่า “รู้ว่าทำไม่ได้แต่ก็จะทำ” แต่ก็ยังยืนยันที่จะต่อสู้กับชะตากรรม ไม่ยุ่งเกี่ยวกับวิญญาณ

มุมมอง
มุมมองของขงจื่อยังไม่มีรูปแบบและระบบที่สมบูรณ์แต่เขาเชื่อว่าโลกมีการพัฒนา และยอมรับว่าโลกมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรดำรงอยู่โดยภววิสัย และปรับตัวให้เข้ากับกฎหมาย สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองความคิดและวัตถุนิยม

วิธีการ
ขงจื่อมีข้อคิดในทางปฎิบัติสองทาง และมีการส่งเสริมในสิ่งที่แตกต่างกันคือ ทัศนคติที่เป็นกลางและเหมาะสม วิธีการแบบนี้คือ การที่ขงจื่อวิจัยประวัติศาสตร์และสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นตามความจริง รวบรวมความคิดในภาพรวมเข้าด้วยกัน หลังจากวิเคราะห์รวบรวมเหตุผลพื้นฐานสิ่งต่างๆหลายๆด้านที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง“การค้นพบที่ดี” และ “ความสำเร็จที่ดี” ของขงจื่อทำให้ได้รับการย่อย่องจากเหมาเจ๋อตง

ญาณวิทยา
ปัญหาพื้นฐานของปรัชญา คือปัญหาความสัมพันธ์ของการดำรงอยู่และความคิด  แหล่งที่มาของปัญหาก็คือ วิชาว่าด้วยความรู้ แม้ว่าขงจื่อจะกล่าวว่า “คนที่เกิดมารู้ทุกเรื่องเป็นผู้ที่มีญาณวิทยา” เขาไม่เคยคิดว่าทุกคนเกิดมาแล้วจะรู้ทุกเรื่อง และก็ไม่ยอมรับว่าตนเองเกิดมาก็รู้ทุกเรื่อง ในทางตรงกันข้ามเขายืนยันที่จะแสวงหาความรู้โดยเรียนศึกษาหาความรู้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ความคิดเห็นทางการเมือง
ยุคชุนชิวสังคมเกิดความไม่สงบอย่างรุนแรง มีการล่วงละเมิดการปฏิบัตินอกจากหน้าที่ ทำให้เกิดการจลาจลในประเทศ บรรดาประเทศต่างๆจึงเข้ายึดดินแดนของเมืองอื่นรวมมาเป็นของตน สังหารบุคคลที่บุกรุกเพื่อขจัดความสับสนวุ่นวายของบ้านเมือง ต่อมาจึงมีการปฏิรูปสังคมให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยยึดตามหลัก “ความเมตตากรุณา” และ “การมีมารยาท” ขงจื่อได้เสนอความคิดเห็นและสนับสนุนการเมืองและให้การอบรมด้านจิตใจแก่นักการเมือง

ข้อเสนอทางการเมือง
ขงจื่อเป็นผู้ปกป้องรักษากฎเกณฑ์ คือถือวงศ์ตระกูลเป็นศูนย์กลางและมีสิทธิพิเศษ ในขณะเดียวกันยังคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชน และต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ทางสังคม ขงจื่อไม่ต้องการจะปฏิวัติกษัตริย์ แต่สิ่งที่ขงจื่อคาดหวังก็คือดำเนินการปกครองด้วยคุณธรรม และศีลธรรมเมื่อทำอะไรก็ต้องมีมารยาท   ชักจูงให้ประชาชนทุกคนมีศีลธรรม และทำให้ทุกคนมีมารยาท

การอบรมด้านจิตใจของนักการเมือง
การดำเนินการปกครองด้วยคุณธรรมทำให้คนในประเทศเกิดความสามัคคี นับเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารคนในประเทศ ดังนั้นนักการเมืองจำเป็นต้องฝึกฝนตนทางด้านคุณธรรม ต้องมีพฤติกรรมเที่ยงตรง ยืนหยัดในหลักการ เลือกบุคคลผู้มีคุณธรรม และเพียบพร้อมด้วยสติปัญญา มีความสามารถและทักษะที่ดี ขยันและมีจิตใจที่ซื่อสัตย์สุจริต

ความคิดทางจริยธรรม
บทบาทในชีวิตทางสังคมของขงจื่อ ท่านให้ความสำคัญกับเรื่องคุณธรรมเป็นอย่างมาก เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย และให้เกิดความกลมเกลียวในสังคม เขาจึงใช้หลัก “เมตตากรุณา”ซึ่งเป็นจริยศาสตร์ที่สมบูรณ์ในการสร้างความเป็นระเบียบของสังคม

ปรัชญาความคิด
เมื่อเทียบกับปรัชญาสมัยใหม่ ปรัชญาความคิดของขงจื่อจะเรียบง่ายมากขึ้น รูปแบบระบบปรัชญาความคิดของคนคือการยึดเอา “ความเมตตา”  เป็นสัญลักษณ์ แต่เมื่อเทียบกับความคิดของบุคคลร่วมสมัยจะเห็นได้ว่าความคิดของขงจื่อมีความก้าวหน้ามากกว่า

ความจงรักภักดี
คนที่มีความจงรักภักดีคือ คนที่มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ พยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ถึงที่สุด และยังรวมไปถึงการแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ขงจื่อจึงเสนอข้อคิดเห็นว่า “ข้าราชบริพารที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ต้องปฏิบัติตามบรรทัดฐานของประเพณี  ข้าราชบริพารรับใช้พระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี” ต้องป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดต่อพระมหากษัตริย์ กำจัดและโค่นล้มทรราช ซึ่งแตกต่างกับคนรุ่นหลังที่ว่า “ขุนนางจะต้องฟังคำสั่งของพระมหากษัตริย์” เป็นอย่างมาก

ความกตัญญู
สังคมทาส(奴康社会)ปกครองรักษาการโดยความสัมพันธ์ทางสายเลือด ความกตัญญูเป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้านศีลธรรมจรรยา และเป็นศีลธรรมทางการเมือง หลังเข้าสู่สังคมศักดินา(封建社会)บทบาทสำคัญของกตัญญูคือมนุษย์ต้องมีศีลธรรมจรรยา ขงจื่อกล่าวว่ากตัญญูไม่เพียงเริ่มจากการเคารพปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ และยังต้องพูด ทำ และรับคำตักเตือนในสิ่งที่ทำผิดต่อพ่อแม่ ซึ่งต่อมาภายหลังมีความแตกต่างจากคำที่ว่า “พ่อจะต้องฟังคำสั่งของลูก” เป็นอย่างมาก

ความน่าเชื่อถือ
ความน่าเชื่อถือคือ การซื่อสัตย์ไม่หลอกลวง มันไม่เพียงเป็นหลักในการคบหาเพื่อน ยังเป็นศีลธรรมข้อหนึ่งในการปกครองประเทศ คนที่ซื่อตรงจำเป็นต้องมีจิตใจที่ซื่อสัตย์ คำพูดจะต้องมีความน่าเชื่อถือ แต่การรักษาความน่าเชื่อถือจะต้องมีหลักการ และปฏิบัติควบคู่ไปกับศีลธรรมและสัจธรรม

ความยุติธรรม
ความยุติธรรมมีเหตุมีผล เดิมทีแสดงให้เห็นถึงความเป็นธรรม ขงจื่อเคยอธิบายไว้ว่า ความยุติธรรมเป็นบรรทัดฐานของศีลธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม  ผู้คนยึดความยุติธรรมเป็นศูนย์กลาง เพียงเริ่มจากความยุติธรรม กล้าหาญทำเรื่องที่มีความยุติธรรม แต่ขงจื่อไม่ได้นำความยุติธรรมและผลประโยชน์แยกออกจากกันแต่ขอร้องให้ผู้คน เมื่อได้รับผลประโชยน์ก็ต้องคำนึงถึงความยุติธรรมก่อน

การให้อภัย
ผู้คนต่างมีความเห็นตรงกันว่า การให้อภัยคือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เมื่ออยู่ในสังคมจะต้องรู้จักเข้าสังคม สิ่งที่คิดว่าตนเองทำได้ บุคคลอื่นก็ทำได้ เรื่องที่ตนเองทำไม่ได้ก็ไม่ต้องโยนให้กับบุคคลอื่นทำ

การให้
ขงจื่อส่งเสริมให้มีการให้ การปกครองประเทศควรมีจิตใจที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความอ่อนโยน มีจิตใจที่ดีงาม มีความเคารพประหยัด และมีความอดทน ควรสอนให้ผู้คนรู้ว่าเมื่อมีชื่อเสียง มีอำนาจควรพิจารณาถึงผู้อื่นก่อนแล้วค่อยคิดถึงตัวเอง เมื่ออยู่ในหน้าที่ก็ควรปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชน และควรพิจารณาตัวเองก่อนแล้วค่อยคิดถึงคนอื่น

ความเชื่อ
ความเชื่อประกอบด้วย 2 ด้าน ประการแรกคือ ตนเองต้องมีลักษณะอากัปกิริยาที่เอาจริงเอาจังเคร่งขรึม ประการที่สองคือ ถ่อมตนยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และคล้อยตามไปกับผู้อื่น ซึ่งมันเป็นหนึ่งในจริยธรรมและศีลธรรมที่ขงจื่อพยายามส่งเสริมเป็นอย่างมาก รวมถึง ความอบอุ่น ความดี และประหยัดมัธยัสถ์ ซึ่งคนรุ่นหลังเรียกว่า “ ศีลธรรมทั้งห้า ”

ความเคารพ
ความเคารพประกอบด้วย2 ด้าน ประการแรกคือจริงจังตั้งใจกับการงานและกิจการที่ทำ ประการที่สองคือ ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความจริงใจ ทำอะไรต้องตั้งใจ เคารพความคิดของผู้อื่น  ซึ่งเป็นทฤษฎีทางศีลธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศจีน  การเคารพพ่อแม่ เคารพผู้อาวุโส เคารพเพื่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นหลักที่ผู้คนจะต้องปฏิบัติตาม

ความคิดทางการศึกษา
ความคิดที่จะปกครองด้วยคุณธรรมจะเป็นจริงได้นั้น จะต้องปลูกฝังให้คนที่มีความรู้ความสามารถทางการเมือง มีความเพียบพร้อมด้านศีลธรรม ขงจื่อจึงริเริ่มการเรียนการสอนโดยไม่มีแบบแผน และริเริ่มสร้างโรงเรียนของตนเองก่อน ซึ่งในชีวิตของท่านได้สอนคนอย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย สะสมประสบการณ์ในการสอน และยังสร้างวิธีการ รูปแบบการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อให้มีความคิดทางการศึกษาที่สมบูรณ์

จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ขงจื่อเสนอการปกครองที่มีศีลธรรม ดังนั้นจึงสร้างโรงเรียนของเขาขึ้นมา เพื่อดำเนินการฝึกอบรมผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางการเมืองให้ปกครองประเทศด้วยศีลธรรม เมื่อผ่านการฝึกอบรมแล้วเหล่าบรรดาขุนนางได้นำสิ่งที่ขงจื่อได้สอนคือ “มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ มีความเมตตาต่อประชาชน” ไปปฏิบัติใช้ในสังคมที่พออยู่พอกิน(小康社会)เพื่อสร้างโลกใหม่ที่ทุกคนเป็นเจ้าของ และสร้างความสามัคคีให้กับโลก

เนื้อหาการศึกษา
ขงจื่อฝึกและอบรมผู้ที่มีความสามารถให้ปกครองประเทศด้วยศีลธรรม ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติประจำตัวของแต่ละคนและมีความสามารถในการปกครองประเทศ การเรียนการสอนโดยยึดศีลธรรมเป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะครอบคลุมไปด้วย ศีลธรรม สติปัญญา ร่างกาย ดนตรี และคุณธรรมอันดี

วิธีการศึกษา
ขงจื่อสอนนักเรียนตามความสามารถของนักเรียน การเรียนหนังสือเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่กันและกันทั้งสองฝ่าย ทั้งนักเรียนและครูผู้สอน ค่อยๆโน้มน้าวให้การศึกษาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน รู้เรื่องหนึ่งก็สามารถนำไปเชื่อมโยงถึงเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่องได้ เวลาที่นักเรียนต้องการที่จะพูดแต่ไม่สามารถพูดออกมาได้ เขาจึงคิดวิธีการสอนให้เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์และรูปแบบการสอนที่สามารถยืดหยุ่นได้

วิธีการเรียน
ขงจื่อมีความกระตือรือร้นและชอบที่จะหาความรู้เป็นอย่างมาก แม้ว่าขงจื่อจะไม่มีอาจารย์สอนหนังสือ แต่ขงจื่อก็มีความรู้ความสามารถ ชาญฉลาด และมีความมุ่งมานะเพื่อหาความรู้เป็นอย่างมากจนกระทั้งลืมทานข้าว ขงจื่อมักจะแก้ไขปัญหาทุกเรื่อง ทบทวนความรู้เก่าเพื่อที่จะได้ความรู้ใหม่ นำความรู้ที่เรียนและความคิดของตนเองมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน และเป็นผู้ที่รู้เรื่องหนึ่งก็สามารถรู้ทะลุปรุโปร่งไปถึงเรื่องอื่นอีกมากมายหลายเรื่อง

ผู้นำต่างประเทศเยี่ยมชมสารขงจื่อ สุสานตระกูลขงและจวนที่พักตระกูลขง
ปรัชญาความคิดของขงจื่อแพร่หลายไปทั่วโลก ทำให้ทุกปีมักจะมีผู้นำต่างประเทศและมิตรสหายจำนวนมากมาเยี่ยมชมบ้านเกิดของขงจื่อ(Qufu) เพื่อแผ่ขยายการวิจัยทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ดังนั้นการเผยแพร่ปรัชญาความคิดของขงจื่อจึงมีอิทธิพลต่อคนทั้งโลก

ประเทศในทวีปยุโรป
การสื่อสารทางบกระหว่างประเทศจีนและประเทศตะวันตกได้เริ่มจากราชวงศ์ฮั่น แต่ในประวัติศาสตร์การติตต่ออย่างเป็นทางการกับประเทศตะวันตกและเริ่มมีการวิจัยปรัชญาความคิดของขงจื่อมีเพียงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมา ประเทศแรกๆที่มีการติดต่อและทำการวิจัยคือ ประเทศโปรตุเกสและประเทศอิตาลี ซึ่งวิธีหลักคือ บาทหลวงที่มาประเทศจีนจะแปลหนังสือ รวบรวมเรียบเรียงบทประพันธ์ และโฆษณาประเทศของตน ในทวีปยุโรปประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาความคิดของขงจื่อมากที่สุดคือ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการผลักดันเคลื่อนไหว เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม ประชาธิปไตย และปฏิวัติชนชั้นนายทุน ในตอนแรกประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการไม่สนใจปรัชญาความคิดของขงจื่อ แต่ตอนหลังเพื่อการแผ่ขยายอาณานิคมจึงเริ่มมีการวิจัยขงจื่อ ปัจจุบันสถานการณ์ระหว่างประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงมีการวิจัยปรัชญาความคิดของขงจื่อเป็นจำนวนมาก

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย
ปลายราชวงศ์หมิงมีผู้อพยพชาวจีนจำนวนมากที่ไปดำรงชีวิตในต่างประเทศ สถานที่จุดหมายปลายทางที่ผู้อพยพจะไปคือ หมู่เกาะมาเลย์และอินโดนีเซีย ปรัชญาความคิดของขงจื่อได้แผ่ขยายไปยังคาบสมุทรมลายูอินโดนีเซียฟิลิปปินส์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เนื่องจากประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศสิงคโปร์เป็นคนเชื้อสายจีน และรัฐบาลให้ความสำคัญสำนักปรัชญาขงจื่อเป็นอย่างมากดังนั้นขงจื่อจึงมีอิทธิพลต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียเป็นอย่างมาก

เวียดนาม
ปรัชญาความคิดของขงจื่อได้แผ่ขยายเข้ามาในประเทศเวียดนามเมื่อสามศตวรรษก่อนคริสตกาล ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาวัฒนธรรมของประเทศเวียดนามอย่างมาก จึงกลายเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาของวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศเวียดนาม และเป็นส่วนสำคัญที่สุด

ประเทศญี่ปุ่น
การแผ่ขยายปรัชญาความคิดของขงจื่อในประเทศญี่ปุ่นเริ่มจากคนอาณาจักรชิลลาที่มีชื่อว่า หวัง เหยินได้นำคัมภีร์หลุนอวี่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานประมาณ 1,700 ปี ปรัชญาความคิดของขงจื่อจึงส่งผลในด้านคุณธรรมและการศึกษาของคนในประเทศญี่ปุ่น

ประเทศเกาหลี
การแผ่ขยายปรัชญาความคิดของขงจื่อในประเทศเกาหลีมีอิทธิพลยาวนานถึง 2,000 ปี ซึ่งมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการพัฒนาวัฒนธรรมของประเทศเกาหลี

บทสรุป
วันนี้โลกก้าวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์หรือยุคของข้อมูลข่าวสาร ทั่วโลกเกิดความสันติสุข มีอารยธรรม มีความเจริญรุ่งเรืองและมีความก้าวหน้า ซึ่งเป็นความหวังของมนุษยชาติทั้งโลกขงจื่อสนับสนุนการสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสม และคิดสร้างรูปแบบทางสังคมที่ดี ให้สังคมมีสภาพที่ดียิ่งขึ้น จึงทำให้เขาได้รับความเคารพ และความสนใจจากสังคม ซึ่งชื่อกับภูมิปัญญาของขงจื่อจะยิ่งใหญ่ที่สุดและตลอดไป

ทุนรัฐบาลจีน

รัฐบาล สาธารณรัฐประชาชนจีน มอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาต่างชาติและนักวิชาการ ทั้งทุนเรียนปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ทุนอบรมระยะสั้น รวมถึงทุนด้านการวิจัยต่างๆโดยกระทรวงศึกษาธิการจีน มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการบริหารทุนรัฐบาลจีน (China Scholarship Council-CSC) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบด้านการรับสมัคร ผู้สมัครขอทุน สามารถเลือกสาขาวิชาเรียนในสถาบันอุดมศึกษาของจีนที่เข้าร่วมโครงการทุนการศึกษา

1. ประเภทของทุนการศึกษา

ประเภทของทุนการศึกษา

ระยะเวลาเรียน

ระยะเวลาเรียนภาษาจีนก่อนเข้าเรียนตามคณะ

ระยะเวลาทุนการศึกษา

ปริญญาตรี

4-5ปี

ไม่เกิน2ปี

4-7ปี

ปริญญาตโท

2-3 ปี

ไม่เกิน2ปี

2-5ปี

ปริญญาเอก

3-4 ปี

ไม่เกิน2ปี

3-6ปี

ทุนเรียนภาษาจีน

1-2 ปี

ไม่มีระยะเวลากำหนด

ไม่เกิน2ปี

ทุนสำหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการทั่วไป

ไม่เกิน 1 ปี

ไม่เกิน1ปี

ไม่เกิน2ปี

ทุนสำหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการอาวุโส

ไม่เกิน 1 ปี

ไม่เกิน1ปี

ไม่เกิน2ปี

2. รายละเอียดทุน

  1. ทุนเต็มจำนวน มีรายละเอียดดังนี้
    • ได้รับการยกเว้นจากค่าลงทะเบียน ค่าเล่าเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าใช้จ่ายสำหรับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ค่าธรรมเนียมในการฝึกงาน และค่าที่พักสำหรับหอพักในมหาวิทยาลัย
    • ค่าครองชีพ
    • ค่าประกันสุขภาพ
    • ค่าเดินทางระหว่างประเทศ ให้เพียงครั้งเดียว
  2. ทุนการศึกษาบางส่วน สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วน

3. คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. ผู้สมัครจะต้องไม่ใช่พลเมืองจีนและมีสุขภาพดี
  2. พื้นหลังการศึกษาและอายุตามเกณฑ์ มีรายละเอียดดังนี้
    • ทุนนักศึกษาปริญญาตรี มีประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการเรียนดีและอายุไม่เกิน 25 ปี
    • ทุนนักศึกษาปริญญาโท สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและอายุไม่เกิน 35 ปี
    • ทุนนักศึกษาปริญญาเอก สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและอายุไม่เกิน 40 ปี
    • ทุนเรียนภาษาจีน มีประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอายุไม่เกิน 35 ปี ทุนนี้ให้เฉพาะวิชาภาษาจีน
    • ทุนสำหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการทั่วไป สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี หรือมีความรู้เทียบเท่าปริญญาตรี และอายุไม่เกิน 45 ปี
    • ทุนสำหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการอาวุโส สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า และอายุไม่เกิน 50 ปี

สถาบันทุนขงจื่อ

ทุนการศึกษาจากสถาบันขงจื่อเป็นทุนช่วยเหลือนักศึกษาต่างชาติและอาจารย์สอนภาษาจีนให้ได้มีโอกาสมาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่ประเทศจีน

1. ประเภทของทุนการศึกษา

  • ทุนการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติระดับปริญญาโท
  • ทุนเรียนภาษาจีน 1 ปี+ทุนการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติระดับปริญญาโท
  • ทุนเรียนการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติระดับปริญญาตรี
  • ทุนเรียนภาษาจีน 1 ปี
  • ทุนเรียนภาษาจีน 1 เทอม

2. รายละเอียดทุน

ทุนการศึกษาจากสถาบันขงจื่อได้รับการยกเว้นจากค่าลงทะเบียน ค่าเล่าเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน เงินช่วยเหลือค่าแรกเข้า ค่าครองชีพ ค่าที่พักสำหรับหอพักในมหาวิทยาลัย ค่ารักษาพยาบาลและค่าประกันสุขภาพ 
ค่าครองชีพจะให้กับนักศึกษาที่ได้รับทุนเรียนภาษาหนึ่งเทอมและหนึ่งปีจำนวน 1,400 หยวนต่อเดือน  นักศึกษาที่ได้รับทุนเรียนการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติระดับปริญญาโทจำนวน 1,700 หยวนต่อเดือน
เงินช่วยเหลือค่าแรกเข้าจะให้กับนักศึกษาที่ได้รับทุนเรียนที่ประเทศจีนระยะเวลาหนึ่งปีขึ้นไปจำนวน 1500 หยวนต่อคน นักศึกษาที่ได้รับทุนเรียนที่ประเทศจีนระยะหนึ่งเทอมจำนวน 1000 หยวนต่อคน สำหรับนักศึกษาที่เรียนในประเทศจีนมากกว่าหกเดือนจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าแรกเข้า

3. คุณสมบัติผู้สมัคร

รับสมัครบุคคลที่ไม่มีสัญชาติจีน สุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุระหว่าง 16 – 35 ปี (ถ้าเป็นอาจารย์สอนภาษาจีนสามารถผ่อนผันถึงอายุ 45 ปี และระดับปริญญาตรีผ่อนผันถึงอายุ 20 ปี) 
หมายเหตุ: รายละเอียดเกณฑ์การสมัครทุนขงจื่อต่างๆจะต้องขึ้นอยู่กับการรับสมัครทุนสถาบันขงจื่อของปีนั้นๆ

             สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จัดระบบการบริหารสถาบันในรูปแบบ “ผู้อำนวยการคู่” โดยมีผู้อำนวยการฝ่ายไทย 1 คน และผู้อำนวยการฝ่ายจีน 1 คน

ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการร่วม ดังนี้

คณะกรรมการบริหาร

๑  

ภราดาบัญชา แสงหิรัญ

ประธาน

ศาสตราจารย์ Han Jinyu

รองประธาน

ศาสตราจารย์ Lu Fuping

กรรมการ

อาจารย์ศิริลักษณ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

กรรมการ

Ms.Yang Hairong

กรรมการ

ผู้อำนวยการฝ่ายไทย

  • อาจารย์ศิริลักษณ์  ชัยพรหมประสิทธิ์ 

ผู้อำนวยการฝ่ายจีน

  • Ms.Yang Hairong                                                                          

บุคลากร

อาจารย์ศิริลักษณ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

ผู้อำนวยการฝ่ายไทย

Ms.Yang Hairong

ผู้อำนวยการฝ่ายจีน

..กรรณิการ์ ผลอำนวยสุข

เลขานุการผู้อำนวยการฝ่ายไทย

..ณัฐจิรา แดงช่วง

เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย

Mr.Dai Zeyu

อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ

Ms.Yuan Zheng

อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ

Ms.Wang Jiao

อาจารย์อาสาสมัคร

Ms.Luo Yan

อาจารย์อาสาสมัคร

Ms.Zhang Mengyuan

อาจารย์อาสาสมัคร

๑๐

Ms.Jiang Mengyin

อาจารย์อาสาสมัคร

๑๑

Ms.Li Wei

อาจารย์อาสาสมัคร

๑๒

Ms.Guo Yuqin

อาจารย์อาสาสมัคร

๑๓

Mr.Sun Hao

 อาจารย์อาสาสมัคร

๑๔

 Ms.Su Yi

อาจารย์อาสาสมัคร

๑๕

Ms.Sun Ying

 อาจารย์อาสาสมัคร

๑๖

นายวารุต ไชยชาญ

อาจารย์สอนภาษาจีนสัญชาติไทย

๑๗

นางสาวนิตยา เอี่ยมพุ่ม

อาจารย์สอนภาษาจีนสัญชาติไทย

 

สถาบันขงจื่อมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นศูนย์กลางและให้ความสำคัญในการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน HSK HSKK YCT และ BCT 

1. การสอบข้อเขียนวัดระคับความรู้ภาษาจีน(HSK) แบ่งออกเป็น 6 ระดับดังนี้

 

ระดับ จำนวนคำศัพท์ที่ควรรู้ ข้อมูลสำหรับผู้สอบ
1 150

สำหรับผู้สอบที่เข้าใจคำศัพท์และประโยคภาษาจีนง่าย ๆ

2 300

สำหรับผู้สอบที่สามารถใช้ภาษาจีนสื่อสารเรื่องง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน

3 600

สำหรับผู้สอบที่สามารถใช้ภาษาจีนสื่อสาร เรื่องความเป็นอยู่ การศึกษา การทำงาน และท่องเที่ยวในประเทศจีน เป็นต้น

4 1200

สำหรับผู้สอบที่สามารถใช้ภาษาจีนสื่อสาร ในหัวข้อที่กว้างขวางขึ้นและสามารถสื่อสาร กับผู้ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาแม่ได้อย่างคล่องแคล่ว

5 2500

สำหรับผู้สอบที่สามารถอ่านเข้าใจภาษาจีน จากหนังสือพิมพ์และนิตยสารจีน ฟังเข้าใจรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์จีน และสามารถพูดภาษาจีนในที่สาธารณะได้

6 5000

สำหรับผู้สอบที่สามารถฟังและอ่านข่าวสารภาษาจีนได้อย่างดี สามารถสื่อสารความคิดเห็น ของตัวเองด้วยปากเปล่า หรือการเขียนเป็นภาษาจีนได้อย่างคล่องแคล่ว

 

2. การสอบพูดวัดระคับความรู้ภาษาจีน (HSKK) แบ่งออกเป็น  3  ระดับดังนี้

 

ระดับ จำนวนคำศัพท์ที่ควรรู้ ข้อมูลสำหรับผู้สอบ
ระดับต้น 200

ผู้สอบสามารถฟังภาษาจีนเข้าใจคุ้นเคยกับการใช้ภาษาจีน ในชีวิตประจำวัน และสามารถแสดงความต้องการในขั้นพื้นฐานได้

ระดับกลาง 900

ผู้สอบสามารถฟังภาษาจีนเข้าใจ และสามารถใช้ภาษาจีนในการสื่อสาร กับเจ้าของภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว

ระดับสูง 3000

ผู้สอบสามารถฟังภาษาจีนเข้าใจ และแสดงความคิดเห็นของตนเอง เป็นภาษาจีนได้อย่างคล่องแคล่ว

 

3. การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับเยาวชน (YCT) แบ่งออกเป็น 4 ระดับดังนี้

 

ระดับ จำนวนคำศัพท์ที่ควรรู้ ข้อมูลสำหรับผู้สอบ
1 80

ผู้สอบ มีความรู้ ความเข้าใจ การใช้คำศัพท์ ประโยคภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างง่าย ๆ และสามารถเรียนต่อในระดับต่อไปได้

2 150

ผู้สอบ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้คำศัพท์ ประโยคภาษาจีนได้อย่างง่าย ๆ ในการติดต่อสื่อสาร การแสดงความต้องการได้

3 300

ผู้สอบใช้ภาษาจีนสนทนาได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงการติดต่อสื่อสาร

4 600

ผู้สอบสามารถใช้ภาษาจีนในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อภาษาจีน การท่องเที่ยวในประเทศจีน ตลอดจนการติดต่อสัมพันธ์ พบปะ แลกเปลี่ยนสิ่งที่พบเห็น

 

4. การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับธุรกิจ (BCT) แบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้

 

ระดับ ข้อมูลสำหรับผู้สอบ
BCT (A)

สำหรับผู้ที่เรียนภาษาจีนธุรกิจเริ่มต้น ผู้สอบสามารถใช้ภาษาจีน ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และสื่อสารทางธุรกิจขั้นพื้นฐานได้

BCT (B)

สำหรับผู้ที่เรียนภาษาจีนธุรกิจระดับกลางและสูง ผู้สอบสามารถใช้ภาษาจีนในการสื่อสารทางธุรกิจที่ซับซ้อนได้

 

5. ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ

การสอบข้อเขียนวัดระคับความรู้ภาษาจีน(HSK)

ภาษาจีนระดับ ค่าใช้จ่าย (บาท)
1 500
2 600
3 700
4 800
5 1,000
6 1,200

           
การสอบพูดวัดระคับความรู้ภาษาจีน (HSKK)

ภาษาจีนระดับ ค่าใช้จ่าย (บาท)
ระดับต้น 500
ระดับกลาง 700
ระดับสูง 800

การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับเยาวชน (YCT)

ภาษาจีนระดับ ค่าใช้จ่าย (บาท)
1 100
2 200
3 300
4 400

การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับธุรกิจ (BCT)

ภาษาจีนระดับ ค่าใช้จ่าย (บาท)
BCT (A) 1,500
BCT (B) 2,500